วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปงานวิจัย



งานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง
เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


วิจิตตรา จันทร์ศิร
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.สุทธาภา โชติประดิษฐ์

คณะศึกษาศาสตร์อนุมัติให้รับดุษฏีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรการศึกษาดุษฏีบัณทิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ของมหาวิทยาลัยบูรพา



บทนำ

               คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกบการคิด เราใช้คณิตศาสตร์พิสูจน์สิ่งที่เราคิดขึ้นนั้นว่าเป็นจริงหรือไม่ อย่างมีเหตุผล ด้วยวิธีคิดเราก็จะสามารถนําคณิตศาสตร์ไปแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้คณิตศาสตร์ช่วยให้คนเป็ นผู้ที่มีเหตุผล เป็นคนใฝ่รู้ตลอดจนพยายามคิดสิ่งแปลกใหม่คณิตศาสตร์จึงเป็นรากฐานแห่งความเจริญของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ คณิตศาสตร์ยังเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตในปัจจุบัน เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแกปัญหา อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็ นคนช่างสังเกต รู้จักคิดอยางมีเหตุผล และแสดงความคิดออกมาอย่างเป็นระเบียบ ง่าย สั้นและชัดเจน


วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
3. เพื่อวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน


ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากรและกล่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่2 ภาคเรียนที่2 ปี 
การศึกษา 2557 โรงเรียนวัดระเบาะไผ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปราจีนบุรี 
เขต 1 จํานวน 480 คน

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2557
โรงเรียนวัดระเบาะไผ่ จํานวน 35คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)

2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ตัวแปรต้น รูปแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็ นฐาน
ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 8 ทักษะ

3. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง เป็ นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้
ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2557 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 8 หน่วย ดังนี้ วันขึ้นปีใหม่ วันเด็ก ดอกไม้ ผลไม้ ผัก สัตว์เลี้ยงแสนรัก กลางวันกลางคืน เงิน

4. ขอบเขตด้านระยะเวลา 
ภาคเรียนที่2 ปี การศึกษา 2557 ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ5 วัน วันละ 20 นาทีตั้งแต่
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ 
สัปดาห์ละ5วัน ๆ ละ 20 นาท


สรุปผลวิจัย

               ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐานเพื่อส่งเสริม
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สรุปผลได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยูในระดับมาก 
มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.75-4.25 โดยรูปแบบการสอนมี 6 ขั้น ได้แก่

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ 
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน 
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม 
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
ขั้นที่ 5 ขั้นนําเสนอ
ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้

2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนเรียน หลังเรียน
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบวา เด็กปฐมวัย 
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการศึกษาเจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง
เป็นฐานปฏิบัติกิจกรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่า
เด็กปฐมวัยมีเจตคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานอยูในระดับมาก


ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการศึกษาหรือเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐาน ของเด็กปฐมวัยในทุกระดับชั้น
2. ควรนํารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐานไปใช้พัฒนาตัวแปรด้านอื่น ๆ 
เช่น ทักษะทางภาษา ทักษะการคิด ทักษะการแกปัญหา เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น