วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปบทความ

สรุปบทความ

เรื่อง เจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

          เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว  การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ และส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ 

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
          การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก  ได้แก่

          - จำนวนและการดำเนินการ
            ( จำนวน การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม )

          - การวัด
            ( ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร เงิน  และเวลา )

          - เรขาคณิต
            ( ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง  รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ )

          - พีชคณิต
            ( แบบรูปและความสัมพันธ์ )

          - การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            ( การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ )

          - ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
            ( การแก้ปัญหา การให้เหตุผล  การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ )

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
          มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้

          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง  

          สาระที่ 2 : การวัด เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

          สาระที่ 3 : เรขาคณิต รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางมาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ  

          สาระที่ 4 : พีชคณิต เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

          สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น