วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2563

สรุปงานวิจัย



งานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง
เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


วิจิตตรา จันทร์ศิร
บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์
อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ดร.สุทธาภา โชติประดิษฐ์

คณะศึกษาศาสตร์อนุมัติให้รับดุษฏีนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรการศึกษาดุษฏีบัณทิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ของมหาวิทยาลัยบูรพา



บทนำ

               คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกบการคิด เราใช้คณิตศาสตร์พิสูจน์สิ่งที่เราคิดขึ้นนั้นว่าเป็นจริงหรือไม่ อย่างมีเหตุผล ด้วยวิธีคิดเราก็จะสามารถนําคณิตศาสตร์ไปแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้คณิตศาสตร์ช่วยให้คนเป็ นผู้ที่มีเหตุผล เป็นคนใฝ่รู้ตลอดจนพยายามคิดสิ่งแปลกใหม่คณิตศาสตร์จึงเป็นรากฐานแห่งความเจริญของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ คณิตศาสตร์ยังเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินชีวิตในปัจจุบัน เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแกปัญหา อีกทั้งยังส่งเสริมให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็ นคนช่างสังเกต รู้จักคิดอยางมีเหตุผล และแสดงความคิดออกมาอย่างเป็นระเบียบ ง่าย สั้นและชัดเจน


วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน
3. เพื่อวัดเจตคติของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน


ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากรและกล่มตัวอย่าง
ประชากร ได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กาลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปี ที่2 ภาคเรียนที่2 ปี 
การศึกษา 2557 โรงเรียนวัดระเบาะไผ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปราจีนบุรี 
เขต 1 จํานวน 480 คน

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2557
โรงเรียนวัดระเบาะไผ่ จํานวน 35คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)

2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ตัวแปรต้น รูปแบบการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์โดยใช้สมองเป็ นฐาน
ตัวแปรตาม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 8 ทักษะ

3. ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง เป็ นเนื้อหาในหน่วยการเรียนรู้
ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2557 ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 8 หน่วย ดังนี้ วันขึ้นปีใหม่ วันเด็ก ดอกไม้ ผลไม้ ผัก สัตว์เลี้ยงแสนรัก กลางวันกลางคืน เงิน

4. ขอบเขตด้านระยะเวลา 
ภาคเรียนที่2 ปี การศึกษา 2557 ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ5 วัน วันละ 20 นาทีตั้งแต่
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 ถึง 20 มีนาคม พ.ศ. 2557 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ 
สัปดาห์ละ5วัน ๆ ละ 20 นาท


สรุปผลวิจัย

               ผลการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐานเพื่อส่งเสริม
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สรุปผลได้ดังนี้
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมอยูในระดับมาก 
มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.75-4.25 โดยรูปแบบการสอนมี 6 ขั้น ได้แก่

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ 
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผน 
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติกิจกรรม 
ขั้นที่ 4 ขั้นทบทวน
ขั้นที่ 5 ขั้นนําเสนอ
ขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้

2. ผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนเรียน หลังเรียน
ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบวา เด็กปฐมวัย 
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการศึกษาเจตคติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง
เป็นฐานปฏิบัติกิจกรรมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน พบว่า
เด็กปฐมวัยมีเจตคติที่ดีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานอยูในระดับมาก


ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการศึกษาหรือเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐาน ของเด็กปฐมวัยในทุกระดับชั้น
2. ควรนํารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็ นฐานไปใช้พัฒนาตัวแปรด้านอื่น ๆ 
เช่น ทักษะทางภาษา ทักษะการคิด ทักษะการแกปัญหา เป็นต้น


สรุปตัวอย่างการสอน



สรุปตัวอย่างการสอน

คณิตศาสตร์ ปฐมวัย



สื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ปฐมวัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



กิจกรรม
          - การนับเลข 1 - 10 ผ่านจังหวะเพลง และสัตว์น้ำ
          - การบวก
          - การลบ






สรุปบทความ

สรุปบทความ

เรื่อง เจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

          เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว  การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ และส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ 

เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
          การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก  ได้แก่

          - จำนวนและการดำเนินการ
            ( จำนวน การรวมกลุ่ม  และการแยกกลุ่ม )

          - การวัด
            ( ความยาว  น้ำหนัก  ปริมาตร เงิน  และเวลา )

          - เรขาคณิต
            ( ตำแหน่ง  ทิศทาง  ระยะทาง  รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ )

          - พีชคณิต
            ( แบบรูปและความสัมพันธ์ )

          - การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
            ( การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ )

          - ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
            ( การแก้ปัญหา การให้เหตุผล  การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ )

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
          มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้

          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง  

          สาระที่ 2 : การวัด เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

          สาระที่ 3 : เรขาคณิต รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางมาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ  

          สาระที่ 4 : พีชคณิต เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

          สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ




วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่3


บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.


 เนื้อหาการเรียน             
การทำงานของสมอง
               การรับรู้และการซึมซับที่สอดคล้องกับความรู้เดิมและปรับโครงสร้างเป็นความรู้ใหม่

ทฤษฎีของบรูนเนอร์
แนวคิดสำคัญ
               1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
               2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
               3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
               4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
               5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
                              1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage)
                              2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage)
                              3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage)

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
               1. Mathematics     คณิตศาสตร์
                2. Rendition      การกระทำ
                3. Intelligence     สติปัญญา
                4. Brain     สมอง
                5. Counting     การนับ



 ประเมิณ
               อาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนมีการยกตัวอย่างที่เข้าใจง่าย
               เพื่อน : ตั้งใจฟัง ช่วยกันตอบ ช่วยกันออกความคิดเห็น
               ตนเอง : ตั้งใจฟังพยายามคิดตาม ตอบ และทำความเข้าใจ




วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่2


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.


 เนื้อหาการเรียน
               วันนี้เป็นสัปดาห์ที่สองของการเรียนรายวิชานี้ อาจารย์ได้เริ่มสอนเรื่องพัฒนาการเนื้อหามี ดังนี้

               พัฒนาการของเด็ก 
                เด็กเกิดการเจริญเติบโต เกิดการเรียนรู้ เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นลำดับขั้น 

               นิยามของพัฒนาการ
                ความสามารถของเด็กที่แสดงออกมาในแต่ละดับอายุ 

               ลักษณะพัฒนาการ
                พัฒนาเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง 

 ทั้งหมดที่กล่าวมาต้องรู้เพื่อที่จะนำไปจัดประการณ์ให้แก่เด็กได้อย่างถูกต้องโดย การจัดประการณ์ คือ การจัดกิจกรรมที่ลงมือทำด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ โดยใช้สัมผัสทัั้ง 5 ( การได้ยิน การมองเห็น การลิ้มรส การได้กลิ่น การสัมผัส ) 

 คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                1. Development     พัฒนาการ
                2. Assimilation     การซึมซับ
                3. Behavior change     การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
                4. Accommodation     การปรับเปลี่ยนและจัดระบบ
                5. Recognition     การรับรู้



 ประเมิน
               อาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจสนุกน้ำเสียงน่าฟัง
               เพื่อน : ตั้งใจฟังและช่วยกันออกความคิดเห็น
               ตนเอง : ตั้งใจฟังพยายามคิดและทำความเข้าใจเวลาอาจารย์สอน











วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1
วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 08:30 - 12:30 น.

+-×÷

+ เนื้อหาการเรียน
               วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากเป็นคาบแรกอาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวภาระงานต่างๆ และมอบหมายงานดังนี้
               + บทความเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
               + วิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
               + งานโทรทัศน์ครู

- คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                1. Learning     การเรียนรู้
                2. Thinking     การคิด
                3. The analysis     การวิเคราะห์
                4. The decision     การตัดสินใจ
                5. Research     วิจัย

× ประเมิน
                เนื่องจากได้มาลงทะเบียนเพิ่มลดวิชาเรียนทำให้เข้าเรียนไม่ทันจึงได้สอบถามงานจากเพื่อนๆค่ะ

+-×÷
0123456789